ปัญหา

ทุกคนบนโลกใบนี้ล้วนมีปัญหา ทำโน่นนี่นั่นไม่ได้ เพราะ resource ไม่พอ เพราะปัจจัยต่างๆ ไม่อำนวย มันคือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่และสิ่งที่คาดหวัง บทความต่อไปนี้จะเล่าถึง ปัญหา ในมุมของโอกาสที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ รอคนมีความสามารถเข้ามาแก้ไข

Albert Einstein กล่าวไว้ว่า ถ้าเค้ามีเวลา 1 ชั่วโมงเพื่อจะช่วยโลกใบนี้ เขาจะใช้เวลา 55 นาทีเพื่อระบุให้ได้ถึงปัญหา และใช้ 5 นาทีที่เหลือเพื่อแก้ไขมัน

เช่นเดียวกัน Abraham Lincoln พูดว่า ถ้าให้เวลาเค้าไปตัดไม้ 6 ชั่วโมง เค้าจะใช้เวลา 4 ชั่วโมงแรกลับขวาน

จากประสบการณ์ที่เคยคลุกคลีกับ StartUp จำนวนมาก ผมพบว่ามันเป็นเรื่องยากมากสำหรับคนไทยเราเลยในการใ้หแยกระหว่างปัญหาของเรากับปัญหาของลูกค้าหรือปัญหาของโลกใบนี้ที่เราจะเข้าไปแก้ไข เพราะเวลาบอกให้คิดถึงปัญหาทีไรจะกลายเป็นตัวเราเองมีปัญหาอะไรประจำ ซึ่งถ้าเอา 2 เรื่องมา mix กันมันจะเป็นปัญหาที่ถาโถมกันจนไม่รู้จะแก้ยังไง

จะว่าไปตัวผมเองก็ใช้เวลาหลายปีอยู่เหมือนกันในการเข้าใจถึง “ปัญหา” และปัญหาที่มีคุณค่าคืออะไร เพราะแต่ก่อนก็สนใจแค่การทำ product เหมือนกัน และอยู่มาวันนึงผมก็พบว่าเราไม่มีทางสร้าง product ดีๆ ได้จากปัญหาที่แย่ หรือปัญหาที่ไม่มีอยู่จริง ดังนั้นไหนๆ ใครอยากจะทำ product ดีๆ ก็จำเป็นต้องมองย้อนกลับไปสัก step ว่า แล้วสิ่งที่ทำมันแก้ปัญหาอะไร ฝากคิดให้เยอะๆ ถึง problem นะครับ

มีบทความฝรั่งเรื่องนึงยกตัวอย่างปัญหาที่ไม่มีอยู่จริงของ Google Glass ซึ่งพยายามสร้างประสบการณ์การใช้งาน AR ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านไป แต่มันไม่ได้แก้ปัญหาอะไรที่คนต้องการเลย ณ ขณะนั้น มันอาจจะเป็นแค่ nice to have technology หรือสิ่งที่มาก่อนกาลอันควรก็เป็นได้

ลูกค้าไม่ได้ต้องการสว่าน แต่เค้าต้องการรู ถ้าเอานิ้วจิ้มกำแพงแล้วเป็นรูได้ สว่านคงขายไม่ออก คำถามที่น่าสนใจคือแล้วจริงๆ ลูกค้าต้องการอะไรกันแน่ ยกตัวอย่างวงการเพลง เมื่อก่อนคนซื้อเทปซื้อซีดีเพราะต้องการฟังเพลง เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีเปลี่ยน เดี๋ยวนี้ผู้คนหันมาฟัง streaming จะบน youtube, joox, หรือ spotify คนซื้อเทปหรือซีดีก็น้อยลง จนแทบหาไม่มี จะเห็นได้ว่าเทปหรือซีดีเป็นแค่เพียงสื่อในการบรรจุสิ่งที่ผู้คนอยากได้ (แต่ก็มีข้อยกเว้น บางคนอาจจะอยากอิ่มเอมกับความรู้สึกในยุค 80’s 90’s ก็คงเก็บเทปหรือซีดีเพื่อความรู้สึกทางใจต่อไป)

ด้วยเหตุต่างๆ ที่เล่ามาทั้งหมด ก็เพื่อจะบอกว่าหากเรามีโอกาสจะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ จงพยายามค้นหาให้เจอว่าสังคมชุมชนที่เราอยู่ หรือโลกใบนี้ต้องการอะไร และเรามีความสุขที่จะแก้ปัญหานั้นไหม หากปัญหามีอยู่จริงและเราสนุกกับมัน อันนี้จะไปได้โล๊ดครับ ยาวไป

มันมีเทคนิคนึงเค้าให้เขียนออกมาเป็นประโยค โดยเรียงว่า

We solve [problem] by providing [advantage] to help [customer] accomplish [customers goal] เรา แก้ [ปัญหา] โดยจัดเตรียม [ความได้เปรียบ] เพื่อช่วย [ลูกค้า] ทำให้ถึง [เป้าหมาย]

ยกตัวอย่างเช่น

uber: เราแก้ปัญหา ความไม่โปร่งใส ในการวงการขนส่ง [problem] โดยจัดเตรียมแพลตฟอร์มเพื่อหาพาหนะพร้อมราคาที่โปร่งใสในไม่กี่คลิก [advantage] เพื่อช่วยให้ผู้เดินทาง [customer] สามารถเคลื่อนที่จากจุด A ไปยังจุด B ที่ต้องการได้ [goal]

ง่ายๆ แค่นั้นแหละครับ แต่มีคำเตือนนิดนึงว่าอย่าเริ่มต้นจาก solution อย่าไปคิดถึง product ก่อน ให้เริ่มที่ problem ท่องไว้นะครับ หาปัญหาให้เจอ แล้วอื่นๆ จะตามมาเอง
เพราะเอาจริงๆ นะ ไม่มีใครสนหรอกว่า เราทำอะไร เค้าสนว่าสิ่งที่เราทำหนะแก้ปัญหาอะไรให้กับเค้าได้บ้าง ลูกค้าซื้อที่ “job to be done” พูดง่ายๆ ก็คือ เค้าจ่ายเงินแล้วเค้าจะได้อะไร

การระบุปัญหาจะว่าไป ง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก เพราะมันต้องการความอดทนในการคิดซ้ำๆ และพิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน มันคือองค์ประกอบที่สำคัญของ critical thinking ซึ่งเราอาจจะลองคิดผ่าน 3 ขั้นตอนต่อไปนี้ดู
1. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน คิดว่าอะไรคือปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วมันส่งผลกระทบอะไรยังไงกับใครบ้าง โดยที่เราอย่าเพิ่งไปพยายามแก้มัน แค่คิดก่อนว่าอะไรคือปัญหา
2. ลองเขียนมันออกมาง่ายๆ ใน 1 ประโยค (เพราะอะไรที่เราอธิบายไม่ได้แปลว่าเราไม่เข้าใจ) ลองเล่าออกมาให้ง่ายและสั้นที่สุดที่จะทำให้เด็ก ป. 3 เข้าใจ
3. ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ลองถามตัวเองซ้ำๆ อย่างน้อยสัก 5 ครั้ง ว่า ทำไมมันถึงเป็นปัญหาที่สำคัญ มองทะลุไปให้ถึงสาเหตุต้นตอที่มาของปัญหานั้น เทคนิคนี้ Toyota เรียกมันว่า five why’s เพื่อการทำ process improvement ที่เราอาจจะเคยได้ยินชื่อว่า Six sigma ซึ่งอันที่จริงไม่จำเป็นต้อง 5 นะครับ บางที 2-3 ครั้งเราอาจจะเจอที่มาของปัญหา หรือบางทีอาจไล่ถามไปเป็นสิบๆ ครั้งก็ได้ เอาเป็นว่าถามไปให้เยอะที่สุด

มีผู้เชี่ยวชาญบอกไว้ว่าลักษณะของปัญหาที่ดีคือ ต้องทั้งหนัก ทั้งใหญ่ ทั้งยาว
นั่นก็คือ
1. หนัก ปัญหาที่ว่าต้องซีเรียสระดับหนึ่ง มีความหนักหนาสาหัสของตัวมัน ถ้ามันขี้ปะติ๋ว ผู้คนไม่ได้ใส่ใจ แก้ได้ก็ได้ แก้ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
2. ใหญ่ คือขนาดของตลาด จำนวนผู้คนที่ได้รับผลกระทบมีเยอะมากพอ จริงๆ เริ่มต้นจาก niche market เป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ แต่สุดท้ายต้อง go mass ให้ได้จะกลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากขึ้น
3. ยาว คือระยะเวลา ปัญหาที่ว่านี้ต้องมีแนวโน้มว่าจะอยู่ไปอีกนานๆ หรือมีระดับความเข้นข้นที่เราสามารถแก้ไขไปได้เรื่อยๆ

สุดท้ายสิ่งที่เราต้องส่งมอบให้กับลูกค้าให้ได้ คือ ประสบการณ์ experience มันคือ wow moments ที่ลูกค้าเมื่อได้ใช้ได้ลองได้สัมผัสสินค้า/บริการของเรา แล้วต้องร้องเพราะชีวิตเค้าดีขึ้น เราทำได้ดีกว่าทางเลือกอื่นๆ วิธีการอื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาด ลองคิดดูนะครับ คุณเจอปัญหาอะไรที่มีคุณค่าสำหรับคุณและคนที่คุณรักแล้วหรือยัง

Leave a Reply