สตาร์ทอัพเมืองไทย ณ ปลายปี 2016

พลุนัดแรกที่ปลุกกระแส StartUp แห่งปีเห็นจะเป็นงาน Startup Thailand ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ และตามมาแบบเบาๆ ด้วยงาน Digital Thailand ซึ่งจัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ที่กลายเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไปซะแล้ว) และที่สุดยอดคือเรามีงาน Techsauce Summit ที่เป็นงานระดับภูมิภาคซึ่งจัดโดยภาคเอกชน ต่อมาอีกไม่นานก็มีการจัดงานระดับภูมิภาคขึ้น 3 จังหวัด ได้แก่ งานที่เชียงใหม่ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา งานที่ขอนแก่น ณ หอประชุม COLA วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ งานที่ภูเก็ต ณ ดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา หาดป่าตอง ซึ่งในแต่ละจังหวัด แต่ละพื้นที่ก็มี co-working space ที่เป็นแหล่งรวบรวม StartUps ของตนเองระดมคนมาร่วมงานกันเอง (ตามอัตภาพ)

prayuth-digital-thailand

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานว่ารัฐบาลต้องการที่จะปลุกกระแสให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการ StartUp รุ่นใหม่ขึ้นทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ Thailand 4.0 และทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมและต่อยอดอุตสาหกรรมใหม่ หรือที่เรียกว่า New S-Curve รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อให้ก้าวข้ามกับกับดักรายได้ปานกลาง

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า ถ้าสามารถสร้างธุรกิจ StartUp ในด้านต่างๆ ได้ จะทำให้สังคมไทยมีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและหลักแหลม แต่ฐานเหล่านี้เราต้องเอาเทคโนโลยีไอทีเข้าไปเสริมและจะส่งผลให้เห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจในภาคต่างๆ อย่างแท้จริง เช่น ด้านท่องเที่ยว ด้านโรงแรม โลจิสติก และอื่นๆ อีกมากมายนั้น จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และต้องเห็นโอกาสทางธุรกิจ ต้องเล็งเห็นกลุ่มเป้าหมาย ต้องจุดประกายแนวคิดของคนไทยให้สามารถสร้างธุรกิจตัวเองได้อย่างแท้จริง

ด้าน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจ StartUp ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ และได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมทุกรูปแบบ เช่น การสร้างผู้ประกอบการที่มีความสามารถและและดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกมาเมืองไทย การปรับกฎหมายธุรกิจเพื่อส่งเสริม StartUp และสร้างโอกาสให้ StartUp เติบโตได้อย่างรวดเร็ว การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนใน StartUp ส่งเสริมกิจการร่วมลงทุน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของ StartUp เป็นต้น

สำหรับ Operator ทั้ง 3 ค่าย ช่วงนี้ก็พากันมาลงสนามช่วยกันลุมรัก StartUp ฝั่ง AIS The StartUp มีการประกาศ API (Application Programming Interface) ให้ StartUps ที่สนใจสามารถเชื่อมต่อได้ dtac accelerate ก็ยังคงเดินหน้าช่วยทีมที่ผ่านเข้ารอบในการทำตลาดและหานักลงทุน ฝั่ง True Incube ได้กลับมาครั้งใหม่กับโครงการใหญ่ๆ 2 ตัวคือ Pre-incubation Program ที่เรียกว่า Innovation Weekend สำหรับคนที่มีไอเดียอยากทำ MVP (Minimum Viable Product) และ Incubation & ScaleUp Program สำหรับคนที่มี Product แล้วและต้องการขยายตลาดไปกับทรู

tureincube-space

ความเคลื่อนไหวของ StartUp ที่มีชื่อเสียง ได้แก่

  • Lazada ขายให้ Alibaba ด้วยมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญช่วงต้นปี และปลายปีได้เข้าซื้อ RedMart 30-40 ล้านเหรียญ
  • Zalora ถูกซื้อโดยกลุ่ม Central Group ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย
  • Omise ประกาศ raise fund Series B เป็นดีลใหญ่ที่สุดของ Fintech ในภูมิภาคที่ $17.5 ล้านจาก SBI Investment, Golden Gate Ventures, Sinar Mas Digital Ventures และ Ascend Group
  • Eatigo ก็ระดมทุน Series B สำเร็จที่  $15.5 ล้าน จาก TripAdvisor
  • Wongnai ได้ทุน Series B จาก Invent โดยประกาศพุงเป้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ในไทย ไม่ขยายตัวต่างประเทศ
  • Priceza เช่นเดียวกันได้ Series B ด้วยมูลค่าไม่เปิดเผย โดย HBM เข้ามาถือครองหุ้นแทน CyberAgent Ventures
  • WearYouWant ก็ raise Series B จาก Sebrina Holding ด้วยมูลค่าไม่เปิดเผยอีกแล้ว
  • aCommerce ออกตัวว่าระดมทุนเป็น pre-series B ด้วยเงิน $10 ล้านจาก MDI Ventures, Blue Sky Venture Capital และ DKSH
  • Pomelo ระดมทุน Series A ที่ 11 ล้านเหรียญ จาก Jungle Ventures
  • T2P ระดมทุนจำนวน $1.1 ล้านจากกลุ่มเบญจินดา 500 Startups และ 500 TukTuks
  • StylHunt ระดมทุนเล็กๆ รอบ pre-series A ที่ $500,000 จาก Cyber Agent Venture, 500 Tuktuks, Expara Ventures, Singapore Angel Network, และคุณพอล ภัทรพล
  • Getlinks บอกว่าได้ seed funding ที่ $500,000 จาก 500 Startups และ CyberAgent Ventures

จะเห็นได้ว่า นวัตกรรม ความเร็ว และ เวลา กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความแตกต่าง หลายๆ ความสำเร็จที่เราเห็นๆ กันอยู่เป็นผลลัพธ์จากการทำงานถูกที่ถูกเวลา แล้วเร่งปฏิกริยาการเติบโตหรือ growth hacking ของเหล่า StartUp เพราะบริษัทใหญ่ไม่สามารถเร่งปฏิกริยาภายในองค์กรได้ ด้วยความยุ่งยากซับซ้อนเกินไปของ process ตัวเอง จนบางทีเลยถูกเรียกว่า Dinosaur แต่สิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เร็วคือ การซื้อ (acquire) มันง่ายกว่าเพราะแค่ใช้เงินซื้อเวลา ไม่ต้องมาพัฒนาเองลองผิดลองถูกให้ปวดหัว อีกทั้งยังเห็นผลในช่วงเวลาอันสั้น อาจจะแค่ไตรมาสเดียวหรืออย่างช้าก็ไม่เงินปีงบประมาณแหละ

ดังนั้นจะว่าไปผู้นำในองค์กร StartUp จึงไม่ใช่แค่ CEO (Chief Executive Officer) อีกต่อไป แต่พวกเขากลายเป็น CEA (Chief Executive Accelerators) ผู้สร้างแรงบันดาลใจ และทำให้ทุกคนในทีม ในองค์กร ทำงานออกมาให้เหมาะสมกับเวลาที่ product/service ของเราควรจะออกไปให้ผู้คนได้ใช้งานกัน ยกตัวอย่าง บุรุษผู้เกิดมาเป็น CEA โดยกำเนิด อย่าง Elon Musk ปัจจุบันเขารวมบทบาท 3 อย่างเข้าด้วยกันในการทำ Tesla และ SpaceX เขาเป็นทั้ง CEO, CTO และ Chairman of the Board ซึ่งสิ่งที่เขาทำนอกเหนือจากการบริหารอย่าง CEO ทั่วๆ ไป คือ การเข้าไปมีบทบาททุกอย่างที่จะทำให้บริษัทดำเนินงานไปได้เร็วขึ้น เร็วกว่าตลาด เร็วกว่าคู่แข่ง และมั่นใจได้ว่าบริษัทจะต้องบรรลุภารกิจที่ได้ตั้งไว้ ส่วนเมืองไทยก็ต้องยกนิ้วให้ คุณหมู Ookbee และ คุณโบ๊ท Builk ที่ทำหน้าที่ CEA ได้สุดยอดมาก

ensogo

และพอมองกลับมาฝั่งตัว StartUp เอง เวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์อะไรบางอย่าง บางไอเดียที่เมื่อก่อนว่ากันว่าดี๊ดี แย่งกันทำกันใหญ่ สุดท้ายก็ล้มหายตายจากกันไป อย่างการขายดีลที่มีช่วงหนึ่งเปิดกันไม่รู้กี่เจ้า เหลือรอดแค่ ensogo และต้องชมว่า founder ขายบริษัท (exit) ไปในช่วงที่ดีที่สุด ถึงวันนี้แม้รายที่ใหญ่ที่สุดอย่าง ensogo ก็ต้องปิดตัวลงไปเรียบร้อยตามกาลเวลา มีอีกหลายๆ ไอเดียที่ผ่านเข้ามาในเมืองไทย มีเด็กรุ่นใหม่หลายๆ คนที่พยายามจะเป็น StartUp ในขณะเดียวกันก็มีซอฟต์แวร์เฮาส์อีกหลายๆ เจ้าที่พยายามจะผันตัวเองจากการทำโปรแกรมให้คนอื่นมาเป็นทำ StartUp ของตัวเอง

แต่เชื่อหรือไม่ครับหลายปีที่ผ่านมา จากการที่เราจะคุ้นเคยกับ StartUp ที่ทำ Application บนมือถือ สำหรับผู้บริโภค (B2C) บนหลักการ SoLoMo ทั้งหลาย ไม่ว่าจะ photo app, chat app, social networks ต่างๆ แล้วก็ย้ายมาทำบริการสำหรับธุรกิจ (B2B) ทำ Application ที่เชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านของ Enterprise กัน จนวันนี้ของง่ายๆ pain เล็กๆ ที่เหล่า StartUp พยายามหาหรือที่เรียกว่า Problem worth to be solved มันไม่ค่อยมีให้แก้กันแล้ว เราพบว่าไม่ว่าจะทำอะไรออกใหม่มามันเริ่มจะหลบกันไม่พ้น ซ้ำกันไปซะหมด

ในฝั่งอเมริกาการเติบโตด้วยเงินทุนของ Venture Capital (VC) เริ่มจะฝืด เงินเริ่มไหลไปยังภูมิภาคอื่นๆ ยุโรป ญี่ปุ่น จีนก็เริ่มจะอิ่มตัว ที่ที่น่าจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าอย่างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรากลายเป็นคำตอบ ระบบพวกที่ clone หรือได้แรงบันดาลใจจากต่างประเทศต่างๆ ได้เงินกันไปเยอะแล้ว เพราะมีต้นแบบความสำเร็จให้เห็นไปแล้วในเมืองนอก แต่อีกไม่กี่ปีบรรยากาศแบบนี้จะหายไป StartUp แทบนี้อาจจะระดมทุนกันยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสิ่งที่ทำมันเริ่มไม่ cool ไม่เป็นที่ประทับใจของนายทุนต่างชาติอีกแล้ว

ความนี้ถามว่าอะไร cool อะไรกำลังเป็นเทรนด์ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า (The next big wave) คำตอบคือ brain-bening VR, RNA engineering, AI machine-learning ปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ การทำซอฟต์แวร์จะต้องลงลึกมากถึง ไม่ใช่อะไรที่ทำแค่ผิวๆ อีกต่อไป เราอาจต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริงๆ ต้องการเงินลงทุนมหาศาล ใช้เวลาในการวิจัยพัฒนานานขึ้น ไม่มีอะไรฉาบฉวย เติบโตเร็วๆ แบบแต่ก่อน โอกาสของคนตัวเล็กที่จะโตครอบครองโลกจะค่อยๆ น้อยลง เพราะบริษัทใหญ่จะซื้อบริษัทเล็กตั้งแต่ยังไม่โตซะมากกว่า Corporate VC กำลังกลายเป็นหน่วยงานที่สำคัญในองค์กรใหญ่ เราจะเริ่มเห็น Agritech, Biotech, Cryptocurrencies, Drones, Robots, VR และ AR ถูกนำไปใช้ในบริษัทต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ

แล้ว StartUp ต้องปรับตัวอย่างไรต่อหรือครับ? คำถามนี้น่าสนใจมาก เพราะประเทศไทยของเราปีนี้โปรโมทกันหนักมาก มีคนจำนวนมากที่เชื่อในตัวเอง และอยากจะออกมาล่าฝัน อยากโตเร็วๆ ตาม idol ที่เค้าเห็นทางสื่อต่างๆ แต่หารู้ไม่ว่า idol เหล่านั้นผ่านอะไรกันมาบ้าง และตอนนี้พวกเขากำลังเตรียมตัวเพื่อคลื่นลูกหน้ากันแล้ว ดังนั้นใครกำลังทำอะไรอยู่ ผมอยากให้คุณศึกษามันให้จริงจัง ทำมันให้ลึกให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ แบบที่หาตัวจับยาก มันเป็นโอกาสเดียวที่ธุรกิจหรือ StartUp ที่ทำอยู่จะสามารถรอดต่อไปได้ แต่จะรอดแบบยังเหลือ brand ของตัวเองหรือต้อง exit โดยการถูกซื้อโดยบริษัทใหญ่ ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ

Ref:

  • https://medium.com/@SanyuKarani/the-ceo-is-dead-long-live-the-cea-e3ea7f50fe46
  • https://techcrunch.com/2016/11/05/welcome-to-the-hardtech-era

Leave a Reply