ว่าด้วยเรื่องบ๊อกซ์บ๊อกซ์ ตอนที่ 4 บ่มเพาะ

พูดถึง incubator และ accelerator ต่างๆ อันที่จริงในเมืองไทย ผมรู้จัก incubator ของภาครัฐก่อน นั้นคือ หน่วยบ่มเพาะของ Software park และ Science park
Software park มีโครงการอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์มาตั้งนานแล้วก่อนที่คนไทยจะฮิตกับคำว่า Startup ซะอีก
ในขณะที่ Science park ก็มีหน่วยบ่มเพาะที่เปิดโอกาสให้ทุกธุรกิจเทคโนโลยีไม่ใช่เฉพาะเพียงแต่ซอฟต์แวร์

ต่อมาผมก็ได้ร่วมโครงการ AIS startup weekend รุ่นแรก ซึ่งตอนนั้นไม่ได้เอาบ๊อกซ์บ๊อกซ์เข้า มันเป็นช่วงที่ได้คุยกับเบย์เมย์แล้ว ทำ facebook page แล้ว แต่ยังไม่ได้ทำโปรแกรม
จำได้เลยว่าในงานได้เจอกับพี่สิทธิ์ Got.it ที่ไปฟอร์มทีมกันที่นั้น และก็มีปอ Shopspot ที่ได้เกิดจากงานนั้น (ตอนแรกยังไม่ใช่ชื่อนี้นะ) แล้วไปบ่มเพาะและ raise fund ต่อที่สิงคโปร์
แต่สำหรับผมพอจบงาน AIS ก็เชิญไปคุยต่อ ให้ไปเสนอโน่นนี่นั่น แต่ก็ไม่ได้มีอะไรต่อ แล้วก็ห่างหายกันไป

ถัดมาผมได้เจอกับพี่เอก True money ซึ่งกำลังจะก่อตั้ง True incube ขึ้นมา ก็ได้ไปมีส่วนร่วมอยู่พักนึง ผมชอบพี่เอกมากเพราะรู้สึกถึงความเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถ
จนกระทั่งผ่านมาอีกนานพอสมควร True incube เปิดโครงการ ก็พอดีจังหวะที่เราได้เจอปัญหาต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของ BOXBOX.me ในช่วงแรกมาแล้ว
และเราก็อยากจะขยับปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ เราจึงยื่นเสนอร่วมโครงการด้วย BOXBOX 2.0 โดยครั้งนี้ ผมได้ชวนพี่ที และวิว ไปสมัครเข้าโครงการด้วยกัน

พี่ทีเป็นคนที่ได้เจอกันจากงานอีเวนท์ Startup ชื่อ 3DS (3 Day Startup) งานลักษณะนี้เริ่มมีให้เห็นเยอะตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา เป็นการรวมตัวกันสั้นๆ เพื่อระดมสมองทำ prototype
พี่ทีเป็นอดีตอาจารย์มหาลัยที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการ เพราะอึดอัดกับระบบการศึกษา และมีแนวคิดที่ชอบ Startup เป็นทุน ก็เลยคุยกันง่าย
ผมชวนพี่ทีมาช่วยในส่วนเทคนิค เพราะเรามีไอเดียจะทำอุปกรณ์ส่งสัญญาณในการระบุตำแหน่งให้รู้ว่าลูกค้าอยู่ในบริเวณนั้นๆ แก้ปัญหา GPS ที่ไม่เที่ยงตรงสักเท่าไร

boxboxbase

พวกเราผ่านเข้าไปถึงรอบคัดเลือก 5 ทีมสุดท้าย ก็จังหวะ ผมไปถูกชะตากับพี่ไวท์ mentor คนนึงในโครงการ
คุยไปคุยมาผมก็เชื่อพี่ไวท์ซะอีก ว่าเรื่องคิวเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นสิ่งที่ร้านค้าในห้างต้องการ และตอนนั้นเราอยากเข้าห้างมาก
เพราะรู้ในชะตาตัวเองว่าถ้าไม่สามารถยึดหัวหาด ได้บริษัทใหญ่มาเป็นลูกค้า เราคงอยู่รอดได้อีกไม่นาน ด้วยสภาพนั้น

ผมเลยตัดสินใจบอกทีมว่า ด้วย Loyalty platform ที่เราเสนอเข้ามาเป็นเรื่องใหญ่มาก มีหลายสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งถ้าผ่านรอบนี้ไปได้ก็จะต้องเข้าแคมป์ 99 วันเพื่อทำโปรแกรมให้เสร็จ
อย่ากระนั้นเลย เรามาโฟกัสเอาแค่เรื่องคิว มาผนวกกับเครื่องส่งสัญญาณที่เรากำลังจะทำดีกว่าไหม
เมื่อผมชี้ไปทางนั้น ทุกคนในทีมก็คิดว่ามัน make sense เราจึงปรับ scope งาน และหาข้อมูลเพื่อนำเสนอใหม่

หลัง pitch เสร็จ เราไม่รู้ผลว่าเป็นเช่นไร เรารู้แค่ว่า เราทำได้ดีที่สุดด้วยเวลาที่มีอยู่
และสุดท้าย True ก็ประกาศชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย โดยไม่มีชื่อทีมเราอยู่ในนั้น
ผมไม่รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ แต่ผมเสียความรู้สึกว่า ทำไมเค้าไม่สื่อสารอะไรกับเราบ้างเลย ทำเหมือนไม่เคยรู้จักกัน

ในระหว่างนั้นจริงๆ เราก็ได้เข้าร่วมอีกโครงการชื่อ SIPA Angel in the city
อันนี้เราก็ได้ผ่านเข้าไปรอบท้ายๆ เช่นกัน แต่ก็ไม่ชนะ 1 ใน 3
สาเหตุที่ผมคิดเองเพราะเราเคยได้รับทุนของ SIPA ไปแล้ว ทางนั้นเลยอยากให้โอกาสน้องๆ มากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม ผมกลับรู้สึกดีกับโครงการนี้ ได้มิตรภาพจากทีมงาน และก็ยังคุยกันอยู่ถึงทุกวันนี้ (พอโครงการปี 2 ผมก็ไปช่วยงานด้วย)

ส่วน dtac เราไม่เคยสมัครเข้าร่วมโครงการ เพราะเป้าหมายผมยังไม่ใหญ่พอที่จะคิด Go inter เลยในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา
เพราะติดกับดักตัวเองที่ว่า แค่ตลาดไทยเรายังยึดไม่ได้ แล้วจะไปบุกตลาดโลกจริงๆ หรือ? เราพร้อมแล้วหรือ?
แต่จริงๆ แล้ว มาคิดดูดีๆ software นี่แหละครับ เหมาะที่สุดในการ Go inter มันต้องเริ่มจากการตั้งเป้าก่อน เพราะถ้าไม่คิดวันนี้ ทำวันนี้ แล้วจะทำวันไหน

ตอนนี้ต้องบอกว่า ecosystem ของไทยดีขึ้นเยอะครับ มีงานต่างๆ นานาเกิดขึ้นมามากมายเพื่อ Startup
Startup Weekend, Startup Grind, AngelHack, Seedstars World, Echelon Thailand, Tech in Asia Meetup, Start it up Power it up, Women เม้าท์ เล่า Startup และอีกหลายงานที่ไม่ได้กล่าวถึง
แต่มันก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่สร้างและทำลายวงการนี่ในขณะเดียวกัน เพราะมันสร้างความฝันให้กับคนจำนวนมาก หลายคนอยากจะทำอะไรของตัวเอง แต่… ไปได้ไม่ถึงฝั่งฝัน
พี่ไวท์เคยพูดว่า ทุกคนไม่ใช่ entrepreneur การที่เราเสียโปรแกรมเมอร์ดีๆ สักคนไป เพื่อให้เค้าออกไปทำอะไรของตัวเอง หายไป 2-3 ปี แล้วสุดท้ายก็พบว่าตัวเค้าเองไม่ใช่ มันน่าเสียดาย

ผมเห็นด้วยกับพี่ไวท์อย่างแรงอีกแล้วครับ ผมเคยเขียน blog เรื่องราวทำนองนี้ไว้ตอนนึงชื่อ “อย่างนี้ต้องลาออก… ?
ทุกคนเกิดมาเพื่ออะไรบางอย่าง ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นผู้ประกอบการได้ และบริษัทที่มีแค่ Founder มันก็ run ไม่ได้ มันต้องมีทีมงานที่ประกอบไปด้วยทั้ง Dev ทั้ง Biz ทั้ง Support
การร่วมงานต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เราได้พบ ได้พูดคุยกับผู้คนเยอะขึ้น บางครั้งมันสร้าง ego ทำให้เราฮึกเฮิม แต่บางครั้งมันก็บั่นทอนจิตใจเราเหมือนกัน
สุดท้ายสำหรับผมแล้ว บทเรียนล้ำค่าที่สุดที่ได้จากการร่วมงานต่างๆ เหล่านี้ก็คือ อย่าไปยอมให้ใครตัดสินเรา เราคือคนกำหนดชะตาชีวิตเราเองครับ

Leave a Reply