Line

App ที่คนไทยที่ใช้ smartphone ทุกคนต้องมีติดมือถือตัวหนึ่ง คือ Line จากจุดเริ่มต้น Line เป็นแค่เพียงบริการหนึ่งของ Naver บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัทแม่คือ NHN จากเกาหลี เอาเข้าจริงๆ Naver ทำอะไรออกมาหลายอย่างมาก โดย Line เกิดจากความบังเอิญตอนญี่ปุ่นทุกถล่มโดยสึนามิช่วงปี 2011 และทำให้เครือข่ายโทรศัพท์ล่ม Naver จึงทำโปรแกรมแชทเล็กๆ ออกมาเพื่อให้คนญี่ปุ่นสามารถคุยกันได้ผ่าน Data (เข้าใจว่าที่ญี่ปุ่นใช้กันคนละเครือข่ายกับสัญญาณเสียง) และด้วยความง่ายประกอบกับเอกลักษณ์ในการส่งสติ๊กเกอร์ได้ ทำให้ App ตัวนี้ถูกโหลดออกไปใช้นอกญี่ปุ่นด้วย

ถ้าเราดูในช่วงเวลาเดียวกัน ตอนนั้นจะมี Whatsapp ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ แต่ด้วยความคิคุโนเนะของ Line ไปถูกจริตของคนเอเชียมากกว่า ทั้งไทย ไต้หวัน อินโดนิเซีย อินเดีย โหลดกันให้เพียบ พอคนนึงมีแล้วจะคุยกับเพื่อน ก็ชวนเพื่อนมาโหลด กลายเป็น network effect คราวนี้ทุกคนจะสื่อสารกันก็ต้องมี Line ซึ่งทีมงานก็ต้องทำงานอย่างหนักให้ระบบมันเสถียรขึ้น ไม่ใช่ส่งไปบ้างไม่ไปบ้าง และก็ต้องทำ cross platform ให้ app ของตัวเองสามารถใช้ได้ทั้ง Android, iOS, BB, Windows phone ส่วนในจีนไม่ต้องพูดถึงครับ เค้ามี The great firewall of China อยู่ App chat ตัวเดียวที่คนใช้กันคือ Wechat

อย่างไรก็ตาม Line ไม่ได้หยุดที่เป็นแค่ Messaging program อย่างที่เราทราบกัน อีกเรื่องที่ทำให้ Line โตได้อย่างรวดเร็วคือ เกม ใครยังจำ Cookie run, เกมเศรษฐี, Pop, Maple story, และอื่นๆ อีกมากมายที่เจอกับ moon, cony, brown และ james ได้บ้างครับ มันคือ Social game ที่ทำให้คนติดกับ Platform และยังชูจุดเด่นด้วยเหล่าการ์ตูนคาร์เรคเตอร์ง่ายๆ ที่ทำให้คนจดจำได้ ซึ่งทุกตัวก็ถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ทุกๆ อย่างทั้งออนไลน์ออฟไลน์ แล้วกลายมาเป็น merchandise ขายกันอีกหลากหลายอย่าง อีกทั้งยังมี animation ออกฉายทางโตเกียวทีวีในปี 2013 ในชื่อ Line Offline Salaryman Stamp มันไม่ใช่แค่ App แต่มันคือความผูกผัน engagement ที่สร้างไว้กับ user

หลายคนช่วงแรกๆ ก็สงสัยว่า Line ให้บริการฟรีแล้วเค้าหารายได้จากไหน คำตอบคือสำหรับตัว Chat ก็มาจากการขาย Sticker นี่แหละครับ ด้วยกลยุทธ์ที่ใช้เรียกได้ว่าสุดยอดมาก เริ่มจากการขายโคตรแพงให้กับ Brand ที่ต้องการเข้าถึงผู้ใช้ Line หลายล้านคน นึกภาพตามนะครับ ฝั่งผู้ใช้ก็บอกว่าใช้ฟรีๆ คราวนี้พอคนใช้เยอะๆ ก็เอาจำนวนผู้ใช้ไปบอก Brand ว่ามีคนใช้เท่านี้นะ และคนเหล่านี้ชอบสติ๊กเกอร์มากๆ ถ้าอยากเข้าถึงอยากสื่อสารกับคนเหล่านี้ก็มาทำ Official sticker ของแบรนด์คุณเปิดให้แจกฟรีสิ เท่านั้นแหละครับ พอ Brand เคาะเครื่องคิดเลข จากแต่เดิมการจะเข้าถึงลูกค้าอาจใช้เงินหลายสิบบาท แต่พอมาเป็นดิจิตอลหารออกมาต่อคนแล้วเหลือหลักหน่วย ถูกมาก ซื้อเลยแล้วกัน (สุดท้าย user ดาวน์โหลด sticker เสร็จแล้ว block account Brand ทิ้งซะ 30%-40% เพราะเขาอยากได้ sticker ไม่ได้อยากสื่อสารกับ Brand) นอกจากนี้ก็เก็บเบี้ยหัวแตกจากการขาย sticker และ theme ให้ user แรกๆ ก็ทำเอง หลังๆ ก็ partner ทำไปทำมาเปิดเป็น market ให้คนทั่วไปออกแบบมาขายแล้วเก็บค่าคอมมิชชั่นแทนแล้วกัน win-win ทุกฝ่าย เทพไหมหละครับ นี่แค่บริการแรกนะครับ ถัดมาพวกเกมก็แน่นอนว่าเล่นฟรี แต่เป็น in app purchase คือ มีการขาย item มากมายในเกม ใครอยากเก่ง อยากได้ของพิเศษๆ จ่ายตังค์มาซะดีๆ นะ

และไม่เท่านั้น อย่างที่เราเห็นๆ กันครับ เมื่อมีคนใช้เป็นฐาน Line ก็พยายามทดลองบริการใหม่ๆ หลายๆ อย่าง พยายามสร้างตัวเองให้กลายเป็น super app ที่อยากให้ผู้ใช้คิดถึงเป็นอันดับแรก ต้องเปิดทุกวัน ตั้งแต่ Line Man, Line Pay, Line TV, Line Dictionary, Line @ ที่กลายเป็น Line Official Account และอื่นๆ อีกมากมาย (แน่นอนที่เปิดมาแล้วแป้กไม่มีคนใช้ ก็ยกเลิกบริการไป) ซึ่งจะบอกว่าบริการพวกนี้เป็นบริการสำหรับ Local ด้วยนะครับ คือ ในแต่ละประเทศที่ให้บริการ ทีมงานสามารถคิดสร้างสรรค์และออกบริการเสริมใช้กันเองได้ในประเทศเลย โดยบริการแต่ละตัวก็ต้องมี business model ของตัวเอง บริษัทญี่ปุ่นให้อิสระในการบริหารมาก อย่างที่พี่บี๋ อริยะ กรรมการผู้จัดการ Line ประเทศไทยคนแรก (2015-2019) เคยให้สัมภาษณ์ไว้เรื่อง Hyper localization คือการต้องเข้าใจตลาดท้องถิ่นแบบลึกซึ้ง การทำธุรกิจในแต่ละประเทศมีความเฉพาะเจาะจง ไม่สามารถใช้นโยบายเดียวคลุมทุกประเทศ

ทำไปทำมาจากแค่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความบังเอิญก็แยกออกไปเป็นบริษัท และสามารถ exit ในตลาด NYSE ด้วยราคา IPO ที่ $42 ในปี 2016 และก็ไม่หยุดแค่นั้น Line ยังพัฒนาบริการใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง มี move ที่น่าสนใจให้ผู้คนร้อง wow กันได้เรื่อยๆ อาทิ เช่น Clova ลำโพงอัจฉริยะที่สั่งการด้วยเสียง เปิดให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อเพื่อสั่งงานอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ภายในบ้าน, Bitbox ตลาดกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน cryptocurrency สกุลต่างๆ , Link สกุลเงินดิจิตอลของตัวเองที่เน้นใช้เป็น รางวัลตอบแทน โดย 1 Link = 1 ล้าน Cony

source: https://www.businessinsider.jp/post-182621

Leave a Reply