เปิดตัวนักเขียนคนที่สองของหนังสือ Startup เล่มนี้ เธอคือสุภาพสตรีแห่งวงการ Digital media อีกคนที่ ทั้งสวย ทั้งเก่ง ไม่มีใครในวงการที่ไม่รู้จัก ชื่อของเธอคือ หมีที่ไม่ใช่หมี เออ… เริ่มพูดจามั่วแล้ว ก็เฉลยเลยดีกว่า เธอคนนั้นคือ @mimee อรนุช เลิศสุวรรณกิจ นั่นเอง บทนี้ก็จะเกี่ยวกับเรื่องของรูปแบบทางธุรกิจที่ยกตัวอย่างไว้เยอะเชียว (แต่โดนตัดเหลือตัวอย่างเดียว ho ho) เอาเป็นว่าถ้าอยากอ่านกันเต็มๆ ก็รอกันหน่อยนะครับ ท่านผู้ชม
Ch 2 เข้าใจโครงสร้าง Business Model หัวใจสำคัญขับเคลื่อนธุรกิจ
สำหรับใครที่มักเข้าร่วมงานสัมมนาด้านธุรกิจ, ชมรายการโทรทัศน์ที่สัมภาษณ์นักธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่ หรือจะเป็น Startup ก็ตามแต่ เรามักได้ยินศัพท์คำนี้เสมอ “Business Model”
“Business Model” เป็นเสมือนโครงสร้างและเข็มทิศสำคัญที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ เป็นตัวชี้ทิศทาง, หลักการในการดำเนินธุรกิจ, รูปแบบโครงสร้างในการดำเนินการวมถึงผู้ร่วมงานในส่วนต่างๆ เพื่อมอบคุณค่าให้กับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์ สร้างสมดุลระหว่างการลงทุนและให้ได้มาซึ่งผลกำไรเพื่อความมั่นคงในธุรกิจระยะยาว
การมองธุรกิจตนเองให้รอบด้านอันประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่างด้วยกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มิอาจมองข้ามได้
หลายครั้งผู้กำลังเริ่มต้นธุรกิจมุ่งที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสามารถที่หรูหรา มีนวัตกรรมที่ล้ำหน้า เพื่อต้องการสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ แต่กลับลืมมองย้อนกลับไปว่า มีตลาดที่มีความต้องการอยู่จริงหรือเปล่า มีลูกค้าต้องการสิ่งที่เรากำลังพัฒนาอยู่จริงหรือไม่ และรายได้ของคุณจะมาจากทางไหน?
การมองย้อนกลับไปที่ Business Model ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางจะช่วยให้คุณมองภาพธุรกิจของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น บางครั้งรูปแบบการหารายได้อาจไม่ได้มีแค่ช่องทางเดียว แต่อาจจะมาจากส่วนอื่นๆ ก็ได้ ดังนั้นถ้าเราไม่วิเคราะห์ในรายละเอียดให้ชัดเจน คุณจะพลาดกุญแจสำคัญที่ทำให้การดำเนินธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ
เคยเป็นไหมที่เคยพยายามเขียน Business Model ออกมา แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหน, ข้อมูลครบเพียงพอหรือไม่, เราขาดหรือตกองค์ประกอบโครงสร้างส่วนไหนไปเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ต่อ
ป้จจุบันมีเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบและช่วยให้เข้าใจโครงสร้างของ Business Model นั้หลากหลายรูปแบบ โดยเครื่องมือที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Business Model Canvas ถูกนำเสนอโดย Alexander Osterwalder เหตุผลที่หยิบยกเครื่องมีอดังกล่าว เนื่องด้วยเป็นเครื่องมือที่สามารถพูดถึงโครงสร้างและองค์ประกอบของ Business Model ในภาพกว้างได้อย่างครบถ้วนเครื่องมือหนึ่ง และเมื่อแตกรายละเอียดออกมาแล้ว จะทำให้เราเห็นจุดแข็ง และอะไรคือจุดอ่อนที่เราควรต้องอุดรูโหว่นั้นไว้ให้ได้
รูปแบบของเครื่องมือนี้สามารถอธิบาย Business Model ของคุณให้เข้าใจและจบภายในหนึ่งหน้ากระดาษแบบสบายๆ ลดความซับซ้อนที่ต้องมาคอยอ่านการเขียน Business Model ด้วยตัวหนังสือยืดยาว แถมอ่านแล้วยังจับประเด็นไม่ค่อยจะได้เสียด้วย
Business Model Canvas ที่ว่านี้อยู่ในรูปแบบของไดอะแกรม ไม่ได้เน้นตัวหนังสือแต่อย่างใด โดยแต่ละช่องคือองค์ประกอบที่ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจของคุณ แบ่งออกเป็น 9 ส่วนด้วยกัน
Leave a Reply