Plenty

เทรนด์การเกษตรยุคใหม่ที่หันมาปลูกพืชในระบบปิด เรียกว่า Plant factory เป็นการเลียนแบบธรรมชาติโดยการควบคุมปัจจัยต่างๆ ในการเจริญเติบโตของพืชด้วยเทคโนโลยี ทำให้ปราศจากโรคและแมลงโดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่มีอันตรายกับคน ผักสะอาด ไม่ค่อยมีแบคทีเรีย ทำให้สามารถวางบนชั้นใบซูปเปอร์มาร์เก็ตได้นานขึ้น อีกทั้งการปลูกแบบนี้ยังสามารถควบคุมสารอาหารต่างๆ เช่น เราสามารถปลูกผักโพแทสเซียมต่ำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงได้

อย่ากระนั้นเลยเผื่อไม่ให้ตกเทรนด์ Vision Fund ของ Soft Bank ได้ลงทุน $200 ล้าน ใน Plenty จาก Silicon Vellay นอกจากนี้ก่อนหน้านั้น Eric Schmidt (อดีต CEO Google) และ Jeff Bezos (CEO Amazon) ต่างก็เคยลงทุนกับ StartUp ตัวนี้ในรอบก่อนมาแล้ว

Plenty เล่าให้ฟังว่าระบบ Plant factory ของตนสามารถปลูกผักได้โดยใช้พื้นที่เพียง 1% และน้ำน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับการปลูกกลางแจ้ง ที่สำคัญที่สุดคือเค้าสามารถควบคุมต้นทุนการปลูกผักได้เท่ากับการปลูกกลางแจ้งแล้ว พูดง่ายๆ คือ ได้ของคุณภาพดีกว่า ในราคาไม่แพงกว่า แต่… ที่จะชนะได้เด็ดขาดก็คือ Plant factory สามารถปลูกในเมืองได้ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งสูง

ปี 2018 Matthew Barnard CEO ได้เดินทางไปปักกิ่งเพื่อจ้างพนักงานในการสำรวจสถานที่ปลูกที่มีขนาดมากกว่า 10,000 ตารางเมตร
ปี 2019 หลังจากได้เงินทุนมา Plenty มีแผนจะเข้าไปปลูกผักในเมืองจีนกว่า 300 แห่ง และตามด้วยอีกหลายเมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก

หากมอง Agritech StartUp ที่อยู่ในแนวหน้าของโลกแล้วก็จะมีดังต่อไปนี้

Plenty ก่อตั้ง 2014 ลักษณะเด่นคือการปลูกเป็นเสาแนวตั้งสูงขึ้นไปกว่า 20 ฟุต แล้วให้แสงด้านข้างทำให้ผักโตออกด้านข้าง ซึ่งนอกจากผักใบแล้วพวกเขายังสนใจจะปลูกผักกินผลไปถึงผลไม้อีกด้วย ล่าสุดระบบปลูกของพวกเขา Tigris ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของซานฟรานซิสโก ได้ทดสอบผักใบไปแล้วกว่า 700 ชนิด และสามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 1 ล้านต้นในเวลาเดียวกัน

AeroFarms ก่อตั้ง 2004 จากนิวเจอร์ซี เป็นการปลูกพื้นแนวนอนปกติ แล้วเรียงซ้อนกันหลายๆ ชั้นถึง 12 ชั้น โดยใช้เทคนิค aeroponic ในการพ่นสารละลายธาตุอาหารให้กับรากพืช ทำให้ไม่ต้องใช้ปริมาณน้ำในแต่ละชั้นเยอะ จึงสามารถวางซ้อนกันได้สูง

Browery Farming ก่อตั้ง 2015 จากนิวยอร์ค ใช้การปลูกแบบ hydroponics โดยเรียงชั้นปลูกสูงขึ้นไปแค่ 5 ชั้น แต่ใช้ระบบอัตโนมัติต่างๆ ในการทำงาน ช่วยประหยัดแรงงานคน

infarm ก่อตั้ง 2012 จากเบอร์ลิน เยอรมัน ที่เน้นการทำฮาร์ดแวร์ในการปลูกผักขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น Indoor farming kit สำหรับการปลูกภายในบ้าน Kräuter Garten เป็นโครงการทำตู้กระจกปลูกเพื่อขายในซูปเปอร์มาร์เก็ต Metro เลย

Freight Farms ก่อตั้ง 2011 จากแมสซาชูเซตส์ ที่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ในการปลูกด้วยเทคนิคแบบ hydroponics และให้แสงผ่าน LED ควบคุมมอนิเตอร์อุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน application ได้

Leave a Reply