เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก Unicorn (ยูนิคอร์น) สัตว์เทพในดินแดนเวทมนต์ Utopia กันเป็นอย่างดี ตามตำนานเล่าว่าเป็นสัตว์หายากพอๆ กับพระจันทร์สีเลือด มันคือตัวแทนของ StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $1,000 ล้าน หรือ billion dollar ซึ่งในปัจจุบัน (Jan 2017) โลกใบนี้มีอยู่ 183 ตัว รวมมูลค่าแล้วกว่า $657,000 ล้าน อ้างอิง https://www.cbinsights.com/research-unicorn-companies
ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา แต่ก็มี 3 บริษัทที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่
Garena (Singapore) มูลค่า $3.75 พันล้าน
Grab (จดทะเบียน Singapore ผู้ก่อตั้งเป็น Malaysia) มูลค่า $3 พันล้าน
Go-Jek (Indonesia) $1.3 พันล้าน
เล็กลงมาเรามีสัตว์เทพที่เรียกว่า Centaur (เซนทอร์) ครึ่งคนครึ่งม้า ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดคือแปลงกลายเป็นม้ายูนิคอร์นเต็มตัว พวกเขาคือตัวแทน StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $100 ล้าน ประเทศไทยเรามี Ookbee ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้แล้ว
รองลงมาอีก Dave McClure แห่ง 500 Startups เรียก StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $10 ล้านแต่ยังไม่ถึง $100 ล้าน ว่า My Little Pony (ลิตเติ้ลโพนี่) หรือ MLP ซึ่งตัวย่อนี้อาจมองอีกแง่ก็คือ StartUp ต้องมี Minimum Lovable Product ถึงจะอยู่รอดได้ แถวๆ นี้บ้านเราเริ่มมี StartUp เข้าแถวอยู่หลายตัวแล้วเหมือนกัน น่ารักใช่ไหมหละ 🙂
ส่วนอีกด้านสำหรับ StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $10,000 ล้าน จะถูกเรียกว่า Decacorn (เดคาคอร์น) ไม่ใช่ Decepticon นะครับ กลุ่มนี้บนโลกมีอยู่ 10 กว่าตัว ที่ชื่อคุ้นๆ หูกันอยู่ก็อย่างเช่น Xiaomi, Airbnb, Snapchat, Flipkart, SpaceX, Pinterest, และ Dropbox เป็นต้น
และที่โตกว่านั้นไปอีกขั้นมีบริษัทเดียวที่ไต่มาถึงคือ Uber ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า $50,000 ล้านไปแล้ว เค้าถูกเรียกว่า Quinquagintacorn (Quinquaginta เป็นภาษาลาตินแปลว่า 50) อย่างไรแล้วสุดท้ายปลายทาง ทางออกหรือ exit สำหรับ StartUp ก็คือ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือ M&A ไปโดยบริษัทที่ใหญ่กว่า หรือถ้าเลวร้ายกว่านั้นเหล่าบริษัทที่ตกต่ำจนมูลค่าล่วงไปน้อยกว่า $1 พันล้าน หรืออาจล่มหายตายจากไม่ถึงฝั่งฝัน ก็จะถูกเรียกว่า Unicorpse
ครับ มันไม่ได้มีแค่นี้นะครับ ในโลกของ StartUp เรายังมี
Dinosaur (ไดโนเสาร์) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทน Corporate ที่เคลื่อนไหวเชื่องช้า พร้อมจะสูญพันธุ์ได้เสมอหากไม่ยอมปรับตัว
Cockroach (แมลงสาบ) แทน StartUp พันธ์อึดที่ไม่ยอมตาย ยังคงพยายามหาทางให้มีชีวิตอยู่รอดไปให้ได้ในช่วงที่เศรษฐกิจฝืดเคืองยากลำบากเช่นทุกวันนี้
และนอกจากสัตว์เทพเหล่านี้ ก็ยังมีการล่าสัตว์เป็นอาหารให้กลายเป็นบริษัทที่ทำรายได้ปีละ $100 ล้าน โดย Christoph Janz กล่าวไว้ว่า มันมีอยู่ 8 วิธีได้แก่
hunt whale (ล่าปลาวาฬ) คือการหาลูกค้า 10 รายที่ยอมจ่ายปีละ $10 ล้าน ยกตัวอย่าง Palantir ถูกเขียนในหนังสือ “Zero to One” ของ Peter Thiel ว่าแต่ละดีลมีมูลค่าตั้งแต่ $1 ล้าน ไปจนกระทั่งถึง $100 ล้าน
hunt brontosaurus (ล่าไดโนเสาร์) คือการหาลูกค้า 100 รายที่จ่าย $1 ล้านต่อปี เช่น Veeva Systems ที่ทำ Cloud-Based Business Solutions สำหรับ Global Life Sciences Industry
hunt elephants (ล่าช้าง) คือการหาลูกค้าสัก 1,000 รายที่มีกำลังจ่าย ปีละ $100,000 อันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ให้บริการแบบ SaaS ทั้งหลายระดับ enterprise อย่างเช่น Workday, SuccessFactors, Salesforce เป็นต้น
hunt deer (ล่ากวาง) คือการหาลูกค้าสัก 10,000 รายที่ยินดีจ่าย $10,000 ต่อปี ลูกค้าลักษณะนี้จะเป็น SME ระดับบน แต่อย่างไรก็ตามความยากอยู่ที่ไม่ใช่คุยหมื่นได้หมื่น อาจจะต้องหา lead มาสักแสนถึงสามารถแปลงเป็นลูกค้าได้หมื่น
hunt rabbit (ล่ากระต่าย) คือการหาลูกค้าที่ยอมจ่ายตังค์ประมาณ 100,000 ราย ที่จ่ายแค่ $1,000 ต่อปี อันนี้คือเจาะกลุ่ม SME อย่างแท้จริง มีความยากในการล่าเหยื่อพอสมควร ทุกอย่างต้องทำแบบ automate เพราะอาจจะต้องหา lead เข้ามาราว 5 แสนถึง 2 ล้านรายเพื่อมีรายได้เฉลี่ยประมาณรายละ $50-$100 ต่อเดือน
hunt mice (ล่าหนู) คือการหาลูกค้าหรือผู้บริโภค 1 ล้านคน ที่เฉลี่ยแล้วจ่ายปีละ $100 ให้เรา แปลว่าเราอาจต้องมีผู้ใช้ถึง 10-20 ล้านคนที่ได้ใช้งาน application ของเรา จากนั้นก็ไปเก็บเงินเป็น in-app purchase อะไรประมาณนั้น
hunt flies (ล่าแมลงวัน) คือการหาผู้บริโภค 10 ล้านรายที่ใช้ application เราแล้วไปหาเงินทางอื่นให้มีรายได้เฉลี่ยตกประมาณคนละ $10 ต่อปี อย่างเช่น การขายโฆษณา เป็นต้น แน่นอนจะให้ได้ 10 ล้านคนเป็น active user คำนวณคร่าวๆ ก็ต้องมี 100 ล้านคนมาดาวน์โหลดก่อน ดังนั้นมันต้องมีความ social มากๆ ให้คนใช้อยากบอกต่อ หรือไม่งั้นก็ต้อง UGC (user-generated content) ให้มีกระแสการพูดถึงเยอะๆ
hunt microbes (ล่าแบคทีเรีย) สุดท้ายแล้วมันคือการหาผู้บริโภค 100 ล้านคน ที่เฉลี่ยรายรับอยู่ที่คนละ $1 ต่อปีฟังเหมือนง่าย แต่แบบนี้น่าจะยากโคตรๆ ที่ผ่านมามองไปรอบตัวสิครับ มีกี่ app ที่มีผู้ใช้ระดับ 1,000 ล้านคนบ้าง…
ก็สนุกสนานกันไปสไตล์ StartUp ครับ ช่างคิดกันจัง เปรียบเปรยได้เป็นเรื่องเป็นราวสารพัดสัตว์มากๆ อย่างไรก็ตามการทำ StartUp ก็คือการทำธุรกิจ จุดหมายปลายทางก็คือกำไร ลองดูอย่าง Google, Facebook หรือแม้แต่ Line ที่กลายเป็น Tech company ที่แข็งแรง ลุยให้สุดอย่าหยุดแค่ “อยากเป็น” ยูนิคอร์นกันนะครับ
Leave a Reply