อย่างที่เราทราบกันดี StartUp มีอัตราความสำเร็จต่ำ และอัตราการล้มเหลวที่สูงมาก
และด้วย form, format ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ การเอาไอเดียไปขายฝัน ทำให้นักลงทุนเชื่อเพื่อได้มาซึ่งเงินก้อนแรกก่อน
ก็มีมีคนที่ form ดี present เก่ง สามารถโฆษณาชวนเชื่อมากมาย แต่เอาเข้าจริงแล้วมันทำไม่ได้
Clinkle เป็นหนึ่งความล้มเหลวก้อนโตของ Silicon Valley ที่ Lucas Duplan ผู้ก่อตั้งสามารถระดมทุนรอบ seed ได้ถึง $25 ล้าน จาก VC มีชื่อหลายราย รวมทั้ง Sir Richard Branson ด้วย
มันคือ app การเงินปริศนาที่แม้แต่พนักงานเองก็ยังไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ 3 ปีมีแต่ความคลุมเครือ
เรื่องเริ่มต้นจาก Lucas Duplan นักศึกษา Computer science จาก Standford อยากทำ mobile payment จึงไปขอคำแนะนำจาก Merhran Sahami ศาสตรจารย์ผู้สอน programming methodology แล้วอาจารย์ก็เห็นดีเห็นงาม พาไปคุยกับ VC ปั้น story ขึ้นมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นที่น่าสนใจจากกระแสสังคม โดย concept สิ่งที่ Clinkle อยากจะทำคือ online wallet ที่เชื่อมกับบัตรเครดิตและบัญชีธนาคาร มีฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย และจะมีการใช้เสียงคลื่นความถี่สูงในการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ โดยไม่ต้องใช้ NFC (ซึ่งสุดท้ายก็ไม่รู้ว่าจะใช้อะไร)
จากไอเดียปี 2011 สามารถระดมทุนได้กว่า $30 ล้าน ตอนจบต้องปิดบริษัทในปี 2015 เขากลายเป็นตัวอย่างของ เด็กขาดประสบการณ์ที่ได้เงินกองโตมาทำธุรกิจ แต่บริหารไม่เป็น ไม่สามารถรักษาทีมได้ จากบทสัมภาษณ์พบว่า company culture แย่มาก เหมือน Lucas จะพยายามเลียนแบบ Jordan Belfort (หากใครเคยดู The wolf of wall street คงอาจนึกภาพออก ถึงความบ้าบอแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นในบริษัท) มีตัวอย่างบ้าๆ เช่น เขาฉลองยอดคน sign up 100,000 user โดยการพาพนักงานจำนวนนึงไปเมาในรถบัสวันศุกร์ แล้วส่งเมสเสจไปบอกว่าไม่ต้องมาทำงานแล้วในวันจันทร์ เพื่อจะได้มีเงินมาจ้างผู้บริหารเพิ่ม
เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากเคสนี้ แต่อันที่จริงมันก็ไม่ใช่ครั้งแรกหรือครั้งเดียว
ก่อนหน้านั้นก็เคยมี StartUp ฟอร์มดี ลีลาเด่นอีกรายชื่อ Theranos ก่อตั้งโดย Elizabeth Holmes ตั้งแต่ปี 2003 ในขณะที่เธอเป็นนักศึกษาวิศวะเคมีจาก Stanford แล้วลาออกมาตามหาความฝัน
ขายไอเดียไปเรื่อยๆ จนช่วงปี 2013-2014 สามารถระดมทุนจนมูลค่าบริษัทเกินพันล้านเหรียญได้ขึ้นทำเนียบยูนิคอร์น และ Elizabeth ได้กลายเป็น self-made billionaire, ได้ลงนิตยสาร Forbes, ขึ้นอันดับ 100 ผู้ทรงอิทธิพลใน Time Magazine, ได้ขึ้นเวทีสร้างแรงบันดาลใจอย่าง TEDMED
ด้วยคอนเซ็ปต์ของเครื่องตรวจเลือดที่ชื่อว่า Edison ของเธอ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการแพทย์ แค่จิ้มปลายนิ้วเอาเลือดแค่ไม่กี่หยดจากแต่เดิมเจาะเลือดไปตรวจทีต้องดูดไปเป็นหลอดๆ ก็สามารถตรวจโน่นนี่นั่นได้มากกว่า 240 อย่าง ตั้งแต่วัดค่าคลอเรสเตอรอลไปจนถึงมะเร็ว แถมยังรู้ผลเร็วกว่า lab ทั่วไป และยังราคาถูกกว่าแบบเดิมๆ อีกหลายเท่าตัว คือถ้ามันทำสำเร็จจริงเนี่ยบอกได้เลยว่า เปลี่ยนโลก มาก
แต่สิ่งที่ Theranos ทำคือ การเน้นทำการตลาด เซ็นสัญญากับร้านขายยารายใหญ่อย่าง Walgreens บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่อย่าง Pfizer และไปล็อบบี้รัฐให้อนุญาตให้คนไข้สามารถตรวจเลือดกับ Theranos ได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เพื่อช่วยให้คนไข้รู้ข้อมูลสุขภาพตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งมี Arizona ได้ให้อนุญาตไป ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์บริษัทดูดีขึ้นเรื่อยๆ จนมีมูลค่าเกิน $9 พันล้าน
และแล้วเรื่องก็เริ่มส่งกลิ่นและแดงออกมาเมื่อลูกค้าและหมอพยาบาลออกมาบอกว่า ผลตรวจของ Edison ไม่แม่น และเรื่องก็ไปถึงนักข่าว
เริ่มมีการตรวจสอบ แต่ Theranos อ้างว่าการทำงานของ Edison เป็นความลับทางการค้า จึงไม่มีการตีพิมพ์งานวิจัย วงการแพทย์จึงไม่มีโอกาสได้ตรวจสอบในลักษณะ peer review ตามหลักวิชาการ
ยิ่งสืบไปก็ไปเจอว่า Edison ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอะไรล้ำ แค่เอาเลือดมาใส่สารเคมีเพื่อเพิ่มปริมาณแล้วก็เอาไปตรวจด้วยเครื่องยี่ห้อทั่วไป
Theranos พยายามแก้ข่าวเสียๆ หายๆ ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นการบิดเบือนจากกลุ่มอำนาจเก่า ผลความคลาดเคลื่อนอาจมาจากหลายๆ ปัจจัย
ซึ่งสุดท้าย
FDA (Food and Drug Administration) ก็ออกมาสั่งห้ามไม่ให้ใช้ Edison ในการตรวจทุกชนิด
CMS (Centers for Medicare and medicaid Services) ก็ได้เพิกถอนใบรับรองห้อง lab ของ Theranos เพราะไม่ได้มาตรฐาน
SEC (Securities and Exchange Commission) สั่งปรับ Theranos และ Elizabeth ในฐานฉ้อโกงเป็นคดีอาญา เนื่องจากมีการทำเอกสารเท็จเกี่ยวกับเทคโนโลยี ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลทางการเงิน หลอกลวงนักลงทุนกว่า $700 ล้าน
และปิดฉากบริษัทลงในปี 2018
HBO ได้นำเรื่องนี้มาทำเป็นสารคดีชื่อ The Inventor: Out for Blood in Silicon Valley ฉาย 18 มีนาคม 2019
เคยมีวลีเด็ดที่กล่าวไว้ว่า Fake it till you make it แต่บางครั้งมันก็โกหกคำโตเกินกว่าจะทำให้เป็นจริงได้
Leave a Reply