ขายผักเป็นยูนิคอร์นได้ไหม? คำตอบอยู่ที่ประเทศจีนครับ 美菜 meicai.cn หรือเหมยไช่ แปลตรงๆ ว่า ผักสวย เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 โดยนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ หลิว ช่วนชิง วันนี้พวกเขาเป็นศูนย์กลางให้เกษตรกรขายผักให้ภัตตาคาร ร้านอาหารต่างๆ ในจีนกว่า 10 ล้านแห่งในกว่า 100 เมืองผ่าน Mobile Application โดยตรง เป็นการตัดพ่อค้าคนกลางตาม supply chain แบบดั่งเดิม ฟาร์มสามารถขายผักสดให้ร้านอาหารได้ตลอด 24 ชั่วโมงในราคาที่พอใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แน่นอนร้านอาหารก็ได้ของสดที่ต้นทุนต่ำกว่าเดิม และได้รับของสดภายใน 12-18 ชั่วโมง ทุกคน win-win ในขณะที่ธุรกิจพ่อค้าคนกลางถูก disrupt นอกจากนี้ Meicai ยังทำงานร่วมกับสภากาชาดของจีนในการทำโครงการการกุศล เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเกษตรกรที่ยากจน รายได้ต่ำ ในการให้การศึกษาและยกระดับสุขอนามัยให้ดีขึ้นอีกด้วย
หลิวจบการศึกษาราวปี 2008 จากนั้นปีต่อมาก็ร่วมกับเพื่อนเปิดบริษัทขายอาหารออแกนิคคุณภาพสูง แต่มันก็เจ๊งหลังจากผ่านไปแค่ 6 เดือน เพราะไม่ได้รับความเชื่อถือ จากนั้นเขาก็เปิด group buying website แล้วก็ขายต่อในปี 2013 แล้วก็เริ่มออกเดินทางไป 7 จังหวัดเพื่อศึกษาการทำฟาร์มในจีนอย่างจริงจัง เขาคำนวณว่า ระหว่างฟาร์มถึงร้านอาหาร อาจมีคนกลางถึง 7 ชั้นซึ่งคิดเป็น 90% ของราคาขายพืชผล ยกตัวอย่างเช่น มันฝรั่ง 500 กรัม ขายในร้านอาหาร $12 แต่เงินที่ชาวสวนได้อาจอยู่ที่ประมาณ 21 เซ็นต์เท่านั้นเอง
เบื้องต้นเราอาจมองว่าธุรกิจของ Meicai เป็น B2B คือการขายระหว่างธุรกิจ หรือเรียกเก๋ๆ ว่า F2B (Farm to Business) แต่จริงๆ มันไม่ใช่แค่นั้น โมเดลของเค้าสรุปได้ว่าสั้นๆ ว่า two sides, one chain and one platform สิ่งที่ Meicai ทำคือการรับเหมาเรื่อง logistics การขนส่งทั้งสายตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง ตัดความยุ่งยากซับซ้อนทั้งหลายทั้งปวงของ supply chain ลง พวกเขามี warehouse ที่ยอดเยี่ยม และ operation ที่สุดยอด ทำให้เมื่อยิ่งขยาย ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็กลายเป็น barrier ให้คนทำตามยากขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีการให้ incentive เป็นเงินตาม KPI และจำนวนเป้าหมายที่สามารถทำได้ด้วย
Meicai เลือกที่จะทำเหมือน JD.com ในเรื่องของ logistics กล่าวคือ การสร้างเครือข่ายของตัวเอง เพราะปัญหาการเน่าเสียของอาหารสดเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนนึงคือต้องลงทุนในรถบรรทุกห้องเย็นเพื่อที่จะควบคุมอุณหภูมิของสินค้า อีกส่วนนึงคือการทำ subscription เพื่อให้สามารถรู้ความต้องการล่วงหน้าเพื่อบริหารจัดการได้สะดวกขึ้น พวกเขาสร้างระบบของตัวเองเรียกว่า TMS (Transportation Management System) เพื่อทำให้รู้ว่ารถคันไหนบรรทุกอยู่เท่าไร และวางแผนเส้นทางยังไง แล้วเปิดให้บริษัทอื่นสามารถนำสินค้ามาแสดงในร้านโดยคิดเป็นค่า commission จากการขายรวมค่าเก็บสินค้าและบริการขนส่ง
ที่น่าสนใจอีกเรื่องคือเค้าบริหารพนักงานขนส่งแบบกองทัพเลย คือมียศตั้งแต่ นายสิบ ไปจนถึง นายพล ตามการตรงต่อเวลา, รีวิวของลูกค้า และอัตราการรักษาลูกค้า ซึ่งมันช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุนลงได้มาก ลดความเสี่ยงและ scale ได้อย่างรวดเร็ว และทำให้คนขับซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชนบทได้ค่าแรงที่เหมาะสมขึ้น (ประมาณ 8,000 RMB/เดือน)
ส่วนการสั่งของก็ทำได้ง่ายด้วยการจัดการผ่าน application เหมือน food delivery อื่น เช่น Meituan หรือ Ele.me ผู้ซื้อสามารถเลือกตามหมวดหมู่ ผัก ผลไม้ หรือแม้กระทั่งเนื้อสัตว์ มีแถมสูตรอาหารจากของที่เลือกให้ด้วย หลังจากสั่งเสร็จก็สามารถเช็คได้ว่าของเดินทางถึงไหนแล้ว และเมื่อได้รับสินค้าก็สามารถเรตได้ว่าชอบไม่ชอบแค่ไหน หรือทำเป็น favorite ไว้ก็ได้
ฝั่งคู่แข่งจาก food delivery ที่เป็น B2C หรืออาจจะเรียกว่า O2O ก็พยายามจะขยายธุรกิจเป็น B2B บ้าง โดย Ele.me (ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการภายใต้เครือ Alibaba) ก็ปล่อยบริการ Youcai ออกมาช่วงกรกฎาคม 2015 ตามมาด้วยทาง Meituan ก็ได้ออก supply chain management mobile app ชื่อ Kuailv Jinhuo (快驢進貨) ช่วงมีนาคม 2016 อย่างไรก็ตามทั้ง 2 รายก็ยังไม่สามารถตามผู้นำอย่าง Meicai ได้สำเร็จเพราะ core business ไม่เหมือนกัน
Leave a Reply